วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สกุลปรง

สกุลปรง
สกุลปรงในไทยในปัจจุบันจำแนกได้ 12 ชนิด ได้แก่ 
ปรงเขา Cycas pectinata Buch.-Ham 
ปรงเขาชะเมา Cycas chamaoaensis K.D. Hill, 
ปรงตากฟ้า Cycas nongnoochiae K.D. Hill, 
ปรงทะเล Cycas edentata de Laub., 
ปรงเท้าช้าง Cycas elephantipes A. Lindstrom & K.D. Hill, 
ปรงปราณบุรี Cycas pranburiensis S.L. Yang, W. Tang, K.D. Hill & P. Patcharakorn, 
ปรงป่า Cycas macrocarpa Griff., 
ปรงผา Cycas clivicola K.D. Hill, 
ปรงสระบุรีCycas tansachana K.D. Hill & S.L. Yang, 
ปรงหนู Cycas simplicipinna (Smitinand) K.D. Hill, 
ปรงหิน Cycas petraea A. Lindstrom & K.D. Hill และ 
ปรงเหลี่ยม Cycas siamensis Miq. และที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับคือ ปรงญี่ปุ่น Cycas revoluta Thunb. นอกจากนี้ยังมีปรงในสกุลปรงเม็กซิโก Zamia อีกหลายชนิด ไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ 
หมายเหตุ  สกุลปรง ชื่อสกุลมาจากภาษากรีก kykas แปลว่า “palm tree” 
ชื่อสามัญ  Cycad 

ประโยชน์เเละสรรพคุณ

                     ประโยชน์เเละสรรพคุณ
ประโยชน์ของต้นปรง : เอาใบมาทำพวงหรีด ใช้ใบ 2 ก้านโด้งเข้าหากันจะเป็นวงโค้งงามใบก็แข็ง ทนทานดีมาก ปลูกไว้เป็นไม้ประดับบ้านใส่กระถางก็งามน่าดูทีเดียว

ข้อมูลจำเพาะ

ข้อมูลจำเพาะ

การดูแลรักษา
  • แสง ชอบแสงแดดจัด
  • น้ำ ปรงเป็นพืชที่ทนต่อการขาดน้ำและต้องการน้ำพอประมาณ
  • ดิน ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดแต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนทราย
  • ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง
การขยายพันธ์
โดยการเพาะเมล็ดและการแยกหน่อ
โรคและแมลง
โรคนั้นไม่ค่อยมีรบกวนจะมีก็แต่แมลงจำพวกไรแดงและเพลี้ยหอย
การป้องกันกำจัด
การกำจัดควรใช้ยาประเภทดูดซึมเพราะปรงมีใบเล็กและลื่น โดยใช้ยาไซกอนในอัตรา 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดให้ทั่วบริเวณโคนต้น

ประเภทของปรง

ประเภทของปรง

"ปรง" ในอันดับ (Order) Cycadales ทั่วโลกมีอยู่ด้วยกัน 3 วงศ์ คือ Cycadaceae, Stangeriaceae และ Zamiaceae มีสมาชิกรวมแล้วประมาณ 300 ชนิด (อาจมีการแยก ยุบรวม หรือพบชนิดใหม่เพิ่มเติมอยู่ตามความเห็นนักพฤกษศาสตร์แต่ละท่าน) โดยในวงศ์แรก Cycadaceae มีเพียง 1 สกุล คือ Cycas มีประมาณ 90 ชนิด กระจายพันธุ์กว้างขวางในเขตโลกเก่า ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา มาจนถึงเอเชีย ออสเตรเลีย และตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ปรงที่พบในไทยทั้งสิบกว่าชนิดก็ล้วนอยู่ในสกุล Cycas นี้ วงศ์ Stangeriaceae แยกเป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Stangerioideae และ Bowenioideae ซึ่งแต่ละวงศ์ย่อยก็มีเพียงหนึ่งสกุล วงศ์ย่อยแรก คือสกุล Stangeria มีเพียง 1 ชนิด พบในแอฟริกาใต้ ส่วนวงศ์ย่อยที่ 2 คือสกุล Bowenia มี 2 ชนิด พบทางฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย วงศ์ Zamiaceae เป็นวงศ์ใหญ่สุดของปรง แยกออกเป็น 2 วงศ์ย่อย อันได้แก่
วงศ์ย่อย Encephalartoideae
ประกอบด้วยสกุลต่างๆ 4 สกุลคือ
  1. สกุล Dioon มีประมาณ 10 ชนิด พบในเม็กซิโกและอเมริกากลาง
  2. สกุล Encephalartos มีประมาณ 60 ชนิด ส่วนใหญ่พบทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา
  3. สกุล Macrozamia มีประมาณ 30 ชนิด พบในออสเตรเลีย
  4. สกุล Lepidozamia มีเพียง 2 ชนิด พบทางฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย

ปรง

ปรง

                 ปรง (อังกฤษCycad) เป็นพืชที่มีขนาดเล็กคล้ายกับใบของปาล์ม แต่การเรียงตัวของใบนั้นคล้ายกับเฟิร์นข้าหลวง คือมีการเรียงตัวอยู่รอบ ๆ ศูนย์กลางของลำตัว ปรงเป็นพืชที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตช้ามาก คือ 1 ปีจะเกิดใบเพียงแค่ใบ เดียวเท่านั้น ปรงสามารถทนต่อการขาดน้ำได้เป็นอย่างดีและถ้าขาดน้ำนาน ๆ ใบของปรงจะแห้งเหี่ยวตายไป แต่พอได้รับน้ำอีกครั้งใบก็จะเกิดขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ไม้ในร่ม

ไม้ในร่ม

เป็นพันธุ์ไม้ที่ปลูกในโรงเรือนหรือในร่ม มีทั้ง ‘ไม้ยืนต้น’ เช่น หมากแดง หนวดปลาหมึก ปาล์มหลายชนิด เป็นต้น ประเภท ‘ไม้พุ่ม’ เช่น กวนอิม ขิงแดง คล้า จั๋ง วาสนา สาวน้อยประแป้ง หมากผู้หมากเมีย เอื้องหมายนา อโกลนีมา เป็นต้น ประเภท ‘ไม้คลุมดิน’ เช่น เฟิร์น กำแพงเงิน สับปะรดประดับ เป็นต้น และประเภท ‘ไม้เลื้อย’ เช่น พลูด่าง ฟิโลเดนดรอน โฮย่า เป็นต้น โดยพันธุ์ไม้เหล่านี้สามารถอาศัยอยู่ในสภาพร่มเงาได้ดี

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ปรง

ปรง

ปรงถูกกล่าวถึงว่าเป็นพืชโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ มีเมล็ดแต่ไม่มีดอก ปรงส่วนใหญ่อยู่ในตระกูล Cycadaceae เป็นพืชเมล็ดเปลือย(gymnosperm) ตระกูลปรงจัดอยู่ในอันดับ Cycadales ร่วมวงศ์กับ Zamiaceae ตระกูลปรงมีประมาณ 10 สกุล ในประเทศไทยพบเฉพาะสกุล Cycas ซึ่งมีอยู่ประมาณ 100 ชนิด มีการกระจายพันธุ์ในเอเชีย ออสเตรเลีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันตกเฉียงใต้แถบหมู่เกาะนิวคาเลโดเนียและตองก้า ‘‘ลักษณะเด่น’’ มีใบประกอบแบบขนนกเรียงหนาแน่นเป็นเรือนยอด แยกเพศต่างต้น พืชตระกูลปรงมีลักษณะคล้ายพืชตระกูลปาล์ม มีลำต้นเหนือพื้นดิน ใบแฉกแบบขนนก เรียงเวียนสลับใบย่อยด้านล่าง มีกลดลูกเป็นหนามแหลม ใบย่อยรูปแถบหนามีจำนวนมาก เส้นกลางใบนูนเด่นชัด ไม่มีเส้นแขนงใบ มีเกล็ดหุ้มยอด ใบสร้างอับไมโครสปอร์โคนเพศผู้มีจำนวนมาก รูปลิ่มปลายแหลมคล้ายหนาม เรียงเวียนเป็นรูปโคน ตั้งขึ้นที่ยอดลำต้น เรียกว่า male cone หรือ pollen cone ใบสร้างอัเมกาสปอร์โคนเพศเมียเรียงเป็นกลุ่มคล้ายใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน แต่ละสปอร์โรฟิลล์มีก้านปลายเป็นแฉกแบบขนน กรองรับโอวุล เมล็ดทรงกลมหรือรี ผิวส่วนมากเรียบ ขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเนื้อสดหนา ด้านนอกด้านในแข็งเป็นเนื้อไม้ มีใบเลี้ยง 2 ใบ ปรงในประเทศไทยมีอยู่ 12 ชนิด 

ปาล์ม

ปาล์ม

ไม้ประดับประเภท ปาล์มเป็นพืชที่มีอยู่ในโลกมานานกว่า 80 ล้านปี ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กระจัดกระจายในเขตร้อนของโลกรวมทั้งประเทศไทย ปาล์มมีอยู่ทั่วโลกเกือบ 4,000 ชนิด มีไม่กี่ชนิดขึ้นอยู่ในเขตอบอุ่น ทุก ๆ ปี จะพบปาล์มชนิดใหม่ ๆ 1-2 ชนิดอยู่เสมอ และมีการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติด้วย ปาล์มเป็นพืชที่มีวงศ์ใหญ่ที่สุด(รองจากหญ้า) ทั้งจำนวน ชนิด ละปริมาณ ปัจจุบันพบในหลายพื้นที่ทั่วโลก สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย จำแนกได้กว่า 210 สกุล ปาล์มจัดเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ก้านใบยาวและใหญ่ ลักษณะใบแตกต่างกัน ลำต้นเป็นข้อ ดอกหรือจั่นขนาดเล็กและแข็งแรงไม่มีกลิ่นหอม ผลโดยมากมีเปลือกแข็ง มีขนาดตั้งแต่เล็กไปจนถึงใหญ่ ปัจจุบันคนไทยให้ความสนใจปลูกปาล์มเป็นไม้ประดับมากขึ้น รวมทั้งมีการนำพันธุ์ปาล์มจากต่างประเทศเข้ามาขยายพันธุ์มากขึ้น ซึ่งปาล์มแต่ละชนิดมีลักษณะที่เด่นและสวยงามแตกต่างกัน เช่น ปาล์มพันธุ์อ้ายหมี พันธุ์เชอรี่ และพันธุ์คาร์พ็อกซีลอน ปาล์มเคราฤๅษี ปาล์มช้างร้องไห้ ปาล์มบังสูรย์ ปาล์มเจ้าเมืองถลาง ปาล์มพระราหู ปาล์มเจ้า
ประวัติส่วนตัว

นายจิรายุส   หะสะเล็ม

เลขประจำตัว 29699

เลขที่ 7 ม.4/7

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา